ความยืดหยุ่นของอุปสงค์
(Elasticity
of Demand)
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand) หมายถึง
อัตราการเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อสินค้าต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ
ที่กำหนดอุปสงค์ เช่น ราคา รายได้ ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์มี 3 ชนิด ดังนี้
1. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand)
เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง
โดยวัดออกมาในรูปของร้อยละ
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Ed) = % การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อ
% การเปลี่ยนแปลงของราคา
% การเปลี่ยนแปลงของราคา
โดยสูตรที่ใช้คำนวณหาค่าความหยือหยุ่นนั้นมี
2 ลักษณะ คือ
ก. สูตรความยืดหยุ่นของอุปงค์แบบจุด
(Point
elasticity of Demand)
โดยที่ : Ed
= ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
Q1
= ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า
ณ ระดับราคาเดิม
Q2
= ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า
ณ ระดับราคาใหม่
P1
= ราคาสินค้าเดิมก่อนมีการเปลี่ยนแปลง
P2
= ราคาสินค้าหลังการเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่าง สินค้าราคา
20 บาท มีคนซื้อ 10 ชิ้น แต่ราคาลดลงเป็น 18 บาท คนจะซื้อเพิ่มเป็น 15 ชิ้น
คึความหยือหยุ่นที่ A
คือ
ค่าความยืดหยุ่นที่ A = -5 หมายถึงว่า ถ้าราคาเปลี่ยนไป 1% ปริมาณซื้อจะเปลี่ยนไป
5% ส่วนเครื่องหมายเป็นลบเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณความต้องการซื้อมีทิศทางตรงกันข้าม
ค่าความยืดหยุ่นจะพิจารณาเฉพาะตัวเลขเท่านั้น
สำหรับค่าความหยือหยุ่นที่จุด
B คือ
จะเห็นว่าค่าความยืดหยุ่นที่จุด A = -5 ที่ B = -3 ได้ค่าไม่เท่ากันทั้งๆที่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณการซื้อ
และราคาที่มีค่าเท่ากัน เพียงแต่การใช้ราคาปริมาณเริ่มแรกที่แตกต่างกัน
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาว่าจะใช้ค่าใดเป็นเริ่มแรก การคำนวณค่าความยืดหยุ่นจึงมีอีกสูตรหนึ่ง คือ
ข. ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์บนช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ (Arc elasticity
of demand) คือ ช่วง AB
ซึ่งค่า -3.8
นี้ไม่ว่าจะใช้ราคาและปริมาณใดเป็นตัวเริ่มต้นก็ตามจะได้ค่าเท่ากับ -3.8 เสมอ
สามารถแบ่งลักษณะของอุปสงค์ตามระดับความยืดหยุ่นของอุปสงค์ได้ดังรูปที่
3.1
ปัจจัยที่กำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์
ความยืดหยุ่นมาก (Elastic)
ความยืดหยุ่นน้อย(Inelastic)
- สินค้าที่มีของทดแทนได้มาก
- สินค้าที่มีของทดแทนได้น้อย
- สินค้าฟุ่มเฟือย
- สินค้าจำเป็น
- สินค้าคงทนถาวร -
สินค้าที่มีราคาเพียงเล็กน้อย
ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์กับรายรับรวมจากการขายสินค้า
รายรับรวม (Total Revenue) คำนวณได้มาจากการคูณราคาด้วยปริมาณ
หรือ
รายรับรวาม = ราคา x ปริมาณ
TR =
P x Q
ทั้งนี้ รายรับรวม อาจจะเพิ่มขึ้น หรือลดลงหรือคงที่
ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่กำหนดปริมาณซื้อที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณมากน้อยเพียงใด
หรือขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของอุปสงค์ อย่างไรก็ดี
ในเชิงทฤษฏีอาจสร้างตารางความสัมพันธ์ระหว่างความหยืดหยุ่นกับรายได้และราคาสินค้าดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่
1 ตารางความยืดหยุ่นและรายรับรวมในกรณีลด - เพิ่มราคาสินค้า
ความยืดหยุ่นมาก (Elastic)
|
ความยืดหยุ่นคงที่(Unitary)
|
ความยืดหยุ่นน้อย(Inelastic)
|
|||
P x Q
|
TR
|
P x Q
|
TR
|
P x Q
|
TR
|
ก.
ราคาสินค้าลดลง
|
|||||
10 x 1,000
|
10,000
|
10 x1,000
|
10,000
|
10 x 1,000
|
10,000
|
9 x 2,000
|
18,000
|
9 x 1,111
|
10,000
|
9 x 1,050
|
9,450
|
8 x 3,000
|
24,000
|
8 x 1,250
|
10,000
|
8 x 1,100
|
8,800
|
ข. ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น
|
|||||
8 x 3,000
|
24,000
|
8 x 1,250
|
10,000
|
8 x 1,100
|
8,800
|
9 x 2,000
|
18,000
|
9 x 1,111
|
10,000
|
9 x 1,050
|
9,450
|
10 x 1,000
|
10,000
|
10 x 1,000
|
10,000
|
10 x 1,000
|
10,000
|
จากตารางแสดงความสัมพันธ์ของความยืดหยุ่นรายรับรวมและราคาจะสังเกตเห็นว่าถ้าราคาเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อ
(1) ปริมาณซื้อและ (2) รายรับทั้งหมด
จากความสัมพันธ์นี้เราจะนำไปใช้ในการวางแผนการตลาดของสินค้าที่จะนำออกขายในท้องตลาด
ทฤษฏีอุปสงค์ทั้งหมดที่ศึกษาก็เพื่อจะขจัดปัญหาความไม่แน่นอนในธุรกิจ อีกนัยหนึ่ง เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดผู้ขายทุกคนควรที่จะต้องทราบลักษณะของความยืดหยุ่นของอุปสงค์
เพื่อกำหนดนโยบายราคาและพยากรณ์รายได้ของผู้ขาย
อันเป็นการนำมาซึ่งกำไรสูงสุดของผู้ประกอบการ จากหลักทฤษฏีเศรษฐศาสคร์ จึงอาจสรุปความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของราคากับรายรับได้ดังต่อไปนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างความหยืดหยุ่นของอุปสงค์กับรายได้จากการขาย
ราคาสินค้า
|
Ed > 1
|
Ed = 1
|
Ed < 1
|
เพิ่ม
|
TR ลด
|
TR คงเดิม
|
TR เพิ่ม
|
ลด
|
TR เพิ่ม
|
TR คงเดิม
|
TR ลด
|
2. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of Demand)
อุปสงค์ต่อรายได้ หมายถึง จำนวนต่างๆ
ของสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการเสนอซื้อ ณ ระดับรายได้ต่างๆ ภายในระยะเวลาหนึ่ง โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of
demand) หมายถึง การวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลง
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Ey) = %
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อ
% การเปลี่ยนแปลงของรายได้
% การเปลี่ยนแปลงของรายได้
ก.
สูตรความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อรายได้แบบจุด
โดยที่ : Ey
= ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้
Q1
= ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า ณ ระดับรายได้เดิม
Q2
= ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า
ณ ระดับรายได้ใหม่
Y1
= ระดับรายได้เดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง
Y2
= ระดับรายได้หลังการเปลี่ยนแปลง
ข.
สูตรความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อรายได้แบบช่วง
ถ้าค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้มีเครื่องหมายเป็นบวกแสดงว่าเป็นสินค้าปกติ
(Normal Goods) หรือสินค้าฟุ่มเฟือย (Superior Goods)
และถ้ามีเครื่องหมายเป็นลบแสดงว่าเป็นสินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior
Goods) เพราะเมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้นจะซื้อสินค้าชนิดนั้นลดลง
3. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ (Cross
- Price Elasticity of Demand)
อุปสงค์ไขว้ หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง ณ
ระดับราคาต่างๆ พิจารณาต่อสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาหนึ่ง
โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้
(Cross
- Price Elasticity of Demand) หมายถึง
การวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเมื่อราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลง
สินค้าที่เกี่ยวข้องกันแบ่งได้
2 ชนิด ดังนี้
สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary Goods) เป็นสินค้าที่ในการอุปโภคบริโภคต้องใช้ร่วมกัน
ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะไม่สามารถบริโภคได้ เช่น รถยนต์และน้ำมัน เป็นต้น
ความสัมพันธ์ของสินค้าที่ต้องใช้ประกอบกันจะมีทิศทางตรงกันข้ามหรือเป็น -
สินค้าทดแทนกัน (Substitute Goods) เป็นสินค้าที่ในการอุปโภคบริโภค
ถ้าหาสินค้าชนิดหนึ่งไม่ได้สามารถใช้สินค้าอีกชนิดหนึ่งทดแทนได้ เช่น
เนื้อหมูกับเนื้อไก่ เป็นต้น
ความสัมพันธ์ของสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้จะมีทิศทางเดียวกันหรือเป็น +
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ (Ec) = %การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อสินค้า A
% การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
B
ก. สูตรความยืดหยุ่นอุปสงค์ไขว้แบบจุด
โดยที่
: Ec = ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้
QA1
= ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า
A ณ ระดับราคาสินค้า B ก่อนการเปลี่ยนแปลง
QA2
= ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า A ณ ระดับราคาสินค้า B
หลังการเปลี่ยนแปลง
PB1
= ราคาสินค้า B ก่อนการเปลี่ยนแปลง
PB2
= ราคาสินค้า B หลังการเปลี่ยนแปลง
ข. สูตรความยืดหยุ่นอุปสงค์ไขว้แบบช่วง
ถ้าคำนวณได้ค่าเป็นบวก ( + )
แสดงถึง เป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน และถ้าคำนวณได้ค่าเป็นลบ ( - )แสดงถึง เป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน
ความยืดหยุ่นของอุปทาน (Elasticity of
Supply)
ความยืดหยุ่นของอุปทาน (Elasticity of Supply) หมายถึง
เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการขายสินค้าต่อเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า
ค่าความยืดหยุ่นที่คำนวณได้จะมีเครื่องหมายเป็นบวกเนื่องจากราคาและปริมาณความต้องการขายมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
การคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปทานทำได้ดังนี้
ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา
(Es) = % การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการขาย
% การเปลี่ยนแปลงของราคา
% การเปลี่ยนแปลงของราคา
ก. สูตรความยืดหยุ่นของอุปทานแบบจุด (Point elasticity of
Demand)
โดยที่ : Es
= ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา
Q1
= ปริมาณความต้องการขาย
ณ ระดับราคาเดิม
Q2
= ปริมาณความต้องการขาย
ณ ระดับราคาใหม่
P1
= ราคาสินค้าเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง
P2
= ราคาสินค้าหลังการเปลี่ยนแปลง
ข ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานแบบช่วง
ลักษณะความยืดหยุ่นของอุปทาน
สามารถแบ่งลักษณะของอุปทานตามระดับความยืดหยุ่นของอุปทานได้ดังรูปที่
3.2
ปัจจัยที่กำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน
ความยากง่ายและเวลาที่ใช้ในการผลิต
สินค้าที่สามารถผลิตได้ง่ายและใช้เวลาในการผลิตสั้นอุปทานของสินค้ามีค่าความยืดหยุ่นสูง
ปริมาณสินค้าคงคลัง
สินค้าที่มีสินค้าคงคลังสำรองมาก อุปทานของสินค้าจะมีความยืดหยุ่นสูง
ความหายากของปัจจัยการผลิต
ถ้าปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้ามีจำนวนจำกัดและหายาก
ต้องใช้เวลาในการหาปัจจัยการผลิตนาน อุปทานของสินค้าชนิดนั้นจะมีความยืดหยุ่นต่ำ
ระยะเวลา
ถ้าระยะเวลานานความยืดหยุ่นของอุปทานจะมากเพราะผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงการใช้ปัจจัยการผลิตได้ทุกชนิด
แม้แต่เทคโนโลยีและเครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ
ประโยชน์ของค่าความหยืดหยุ่นของอุปสงค์
1. ในการวางนโยบายหรือมาตรการของรัฐ เช่น
การจัดเก็บภาษีจากสินค้า รัฐจะต้องรู้ว่าสินค้านั้นมีความ
หยืดหยุ่นเท่าไร เพื่อจะได้ทราบว่าภาระภาษีจะตกไปบุคคลกลุ่มใด
หยืดหยุ่นเท่าไร เพื่อจะได้ทราบว่าภาระภาษีจะตกไปบุคคลกลุ่มใด
2. ช่วยให้หน่วยุรกิจสามารถดำเนินกลยุทธทางด้านราคาได้อย่างถูกต้องว่าสินค้าชนิดใดควรตั้งราคาสินค้า
ไว้สูงหรือต่ำเพียงใด ควรเพิ่มหรือลดราคาสินค้า จึงจะทำให้รายได้รวมกำไรของธุรกิจจะเพิ่มขึ้น
ไว้สูงหรือต่ำเพียงใด ควรเพิ่มหรือลดราคาสินค้า จึงจะทำให้รายได้รวมกำไรของธุรกิจจะเพิ่มขึ้น
3. นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์แนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ที่มา (msci.chandra.ac.th/econ/ch3elastic.doc)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น