การกำหนดราคาขั้นต่ำ (minimum price control)คือ รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยการประกันราคาหรือพยุงราคาในกรณีที่สิ้นค้าชนิดนั้นมีแนวโน้มจะต่ำมากหรือต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ การควบคุมราคาขั้นต่ำเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป
แต่ ณ ราคานี้ เต็มใจซื้อสินค้าเพียง OQa1 ซึ่งจะทำให้มีสินค้าเหลือ จำนวน FH ซึ่งเราเรียกว่า “อุปทานส่วนเกิน” ( EXCESS SUPPLY) และถ้าหากรัฐบาลต้องการจะให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจะต้องเข้าไปรับซื้อส่วนเกินนี้ไว้ จึงจะทำให้จุด Fการซื้อขายเข้าสู่จุด ดุลยภาพ
นี่คือ นโยบายแทรกแซงราคา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิต โดยการกำหนดราคาขั้นต่ำหรือที่เรียกว่า การพยุงราคาสินค้าเกษตร
นอกจากนี้ รัฐยังมีการช่วยเหลือ ด้วยการให้เงินอุดหนุน ( Subsidies) แก่ผู้ผลิต เป็นต้น
ราคาตลาดอยู่ต่ำกว่าราคาประกันหรือราคาขั้นต่ำ จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ผลิตเพราะขายสินค้าได้น้อยกว่าราคาขั้นต่ำ โดยหลักการแล้วรัฐสามารถทำได้ 2 ทางคือ
- เพิ่มอุปสงค์ที่มีต่อสินค้าโดยรัฐอาจลดภาษีสินค้าชนิดนั้นหรือเชิญชวนให้บริโภคสินค้าชนิดนั้นมากขึ้น
- ลดอุปทาน โดยการจำกัดการผลิต เช่น การผลิตสินค้าชนิดนั้นลดลงและผลิตสินค้าชนิดอื่นแทน
การกำหนดราคาหรือประกันราคาขั้นต่ำ ทำเพื่อใคร
การควบคุมราคาขั้นต่ำ เป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน จากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป การควบคุมราคาขั้นต่ำส่วนใหญ่จะควบคุมสินค้าที่เป็นสินค้าเกษตรซึ่งรัฐบาลเห็นว่าราคาผลผลิตต่ำเกินไปทำให้เกษตรกรเดือดร้อน การควบคุมราคาขั้นต่ำนั้นรัฐบาลจะกำหนดราคาซื้อขายสินค้าไม่ให้ต่ำกว่าที่รัฐบาลกำหนด
ที่มา (https://www.gotoknow.org/posts/215914)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น